วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การซ่อมหลังคา ความรู้เกี่ยวกับหลังคา

ประเภทของหลังคา

รูปทรงของหลังคามีอยู่ 5 แบบ คือ
1.หลังคา SLAB หรือหลังคาแบน สามารถใช้ประ โยชน์บนหลังคาได้ แต่ต้องระวังการรั่วซึม
2. หลังคาเพิงหมาแหงน คือ หลังคาที่เอียงไปด้าน เดียว ราคาถูก และก่อสร้างง่าย
3. หลังคาทรงมนิลา หรือหลังคาหน้าจั่ว คือ หลังคา ที่มีสันตรงกลาง และลาดลงทั้ง 2 ข้าง
4. หลังคาทรงปั้นหยา เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝน ได้ทุกด้าน แต่ราคาค่อนข้างแพง
5. หลังคาปีกผีเสื้อ ปัจจุบันไม่นิยมกันแล้ว เพราะ จะเอียงกลับเข้ามาตรงกลาง ซึ่งเป็นรางน้ำทำให้รั่วง่าย

ชนิดของวัสดุมุงหลังคา

บ้านที่มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง จะให้ความรู้สึกอบ อุ่น มีหลายชนิด เช่น กระเบื้องโมเนีย มีสีให้เลือกมาก แต่ ก็มีน้ำหนักมาก ต้องมุงให้มีความลาดชันมาก
กระเบื้องลอนคู่และลูกฟูก น้ำหนักเบา แต่มุงให้มี ความลาดน้อยกว่าได้
METAL SHEET คือ แผ่นเหล็กที่รีดลอนแล้ว เคลือบสี จะมีรอยต่อน้อย สามารถรีดเป็นแผ่นยาวตลอดได้ จึงลดปัญหาการรั่วซึม และมีน้ำหนักเบา ทำให้ลดขนาดใน ส่วนของโครงสร้างได้

วิธีการมุงหลังคาแต่ละชนิด

กระเบื้องมุงหลังคาแต่ละชนิด จะมีความลาดเอียงใน การมุงไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น กระเบื้องโมเนียจะต้องมุงให้ มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 17 องศา
ส่วนกระเบื้องลอนคู่และลูกฟูก สามารถมุงหลังคาให้ มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่าประมาณ 10 - 12 องศา
ส่วน METAL SHEET สามารถมุงได้น้อยกว่า 10 - 12 องศา แล้วแต่วิธีการออกแบบ
เพราะฉะนั้นเวลาเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคา ควรตรวจดู ความลาดเอียงของหลังคาให้ถูกต้องด้วย มิฉะนั้นจะทำให้หลัง คารั่วได้


โครงสร้างหลังคาไม้

ข้อดีสามารถติดตั้งได้สะดวก ช่างธรรมดาสามารถติด ตั้งได้ เหมาะสำหรับบ้านไม้ เพราะการยึดติดกับเสาและคาน สามารถทำได้สะดวก
ข้อเสียมีราคาค่อนข้างแพง และหาไม้ที่มีคุณภาพดีได้ ยาก มีการบิดงอง่าย ไม่เที่ยงตรง และมีปัญหาเกี่ยวกับปลวก

โครงสร้างหลังคาเหล็ก

ข้อดี มีความเที่ยงตรงในการทำงาน เหมาะสำหรับบ้าน ที่ก่อสร้างด้วยปูน มีราคาถูกกว่าไม้ ทั้งยังมีรูปแบบให้เลือกมาก มาย
ข้อเสีย ช่างต้องมีประสบการณ์ในการเชื่อมต่อโครงหลัง คาเหล็ก และถ้ามีการป้องกันผิวไม่ดี เวลาเกิดการรั่วซึมของหลัง คา จะมีปัญหาเรื่องการเกิดสนิมได้


การกันความร้อนใต้หลังคา

จะใช้แผ่นอลูมิเนียมฟรอยด์ มีลักษณะบางๆ สะท้อนแสง และความร้อนได้ โดยปูไว้ใต้หลังคากระเบื้อง บนโครงสร้างที่เรา เรียกว่า "แป" โดยแผ่นฟรอยด์จะทำหน้าที่สะท้อนความร้อนที่แผ่ ลงมาจากกระเบื้อง ไม่ให้ผ่านมายังตัวห้อง ซึ่งจะทำให้ห้องเย็นและ สามารถแอร์ประหยัดได้ด้วย


ชนิดของวัสดุกันซึมบนหลังคา


วัสดุกันซึมบนหลังคาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แบบ แผ่นและแบบทา
แบบแผ่น จะต้องปูแผ่นกันซึมบนพื้นที่ที่จะป้องกัน แล้วเทปูนทรายทับ หรืออาจจะไม่ต้อง แล้วแต่ชนิดของผู้ ผลิตแต่จะมีประสิทธิภาพสูง และราคาแพงกว่า
แบบทา จะสะดวก คือ ทาไปบนผิวส่วนนั้นเลย ราคา จะถูกกว่า แต่ประสิทธิภาพจะสู้แบบแรกไม่ได้

อ้างอิงจาก : http://www.thaihomemaster.com

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หลังคาบ้านมีกี่แบบ แบบใดที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเหตุใด เรามีคำตอบให้

รูปทรงหลังคานับถึงปัจจุบันมีอยู่ 7 แบบ คือ

1.ซ่อมหลังคา SLAB หรือหลังคาแบน สามารถใช้ประ โยชน์บนหลังคาได้ แต่ต้องระวังการรั่วซึม ใช้เป็นที่พักผ่อน ตากผ้า ใช้กับตึกอาคารทันสมัยทั่วไปในปัจจุบัน มองไม่เห็นตัวหลังคา ทำให้ออกแบบได้หลากหลาย หลังคาแบนซึ่งทำด้วยคอนกรีตจะสะสมความร้อนไว้มากกว่าหลังคาที่มุงด้วย กระเบื้องดินเผาและกระเบื้องคอนกรีต ทำให้เกิดการคายความร้อนออกมาในช่วงที่อากาศเย็นลง คือ เวลากลางคืน ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกร้อนอบอ้าวเมื่อกลับมาบ้านในเวลาเย็น การที่หลังคาแบนมีความลาดเอียงน้อย น้ำฝนจึงมักขังอยู่บนหลังคาได้ง่าย ทำให้เกิดการรั่วซึมอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าก่อสร้างได้ถูกวิธีก็ไม่มีปัญหาค่ะ

2. หลังคาเพิงหมาแหงน คือ หลังคาที่เอียงไปด้าน เดียว ราคาถูก และก่อสร้างง่าย

3. หลังคาทรงมนิลา หรือหลังคาหน้าจั่ว คือ หลังคา ที่มีสันตรงกลาง และลาดลงทั้ง 2 ข้าง เป็นรูปทรงที่สืบทอดกันมา ตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขตศูนย์สูตรอย่างบ้านเรา เนื่องจากมีฝนตกชุกหลังคาจั่วสามารถระบายน้ำฝนออกไปได้เร็ว และป้องกันแดดได้ดีเนื่องจากชายคายื่นยาวสองด้านส่วนด้านสกัดหรือด้านแคบ แม้ยื่นชายคาไม่ได้มากก็ไม่นิยมทำหน้าต่างด้านนี้

4. หลังคาทรงปั้นหยา ได้แพร่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งยุคล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจในยุโรป เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝน ได้ทุกด้าน แต่ราคาแพงกว่าแบบจั่ว ได้กลายเป็นหลังคารูปทรงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะหลังคาทรงนี้สามารถยื่นชายคาเพื่อบังแดดและฝนได้ทั้งสี่ด้าน การระบายน้ำฝนและการป้องกันการรั่วซึม ค่อนข้างจะเสียเปรียบหลังคาจั่ว เนื่องจากมีรอยต่อมากกว่า

แต่ถ้ามุงได้ถูกวิธีและดูแลรักษาตามสภาพก็จะไม่รั่วซึมค่ะ

5. หลังคาปีกผีเสื้อ ปัจจุบันไม่นิยมกันแล้ว เพราะ จะเอียงกลับเข้ามาตรงกลาง ซึ่งเป็นรางน้ำทำให้รั่วง่าย

6.หลังคาโค้ง นิยมในบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือโรงงานค่ะ หลังคาทำด้วย Metal sheet และอลูมิเนียมขึ้นรูปค่ะ

7.หลังคาทรงอิสระอื่นๆ เช่นทรงโค้งเป็นลอนไปมา ทรงไร้ทิศทาง ใช้กับอาคารที่ต้องการความแปลกใหม่ วัสดุที่ใช้มุงเป็นพวกเหล็กขึ้นรูปและอลูมิเนียมขึ้นรูปค่ะ

**แบบหลังคาบ้านที่นิยมมากที่สุดในเมืองไทย นิยมทั้งแบบจั่วและแบบปั้นหยาค่ะ เพราะทั้งสองแบบกันแดดกันฝนได้ดี และทำง่ายไม่ยุ่งยาก วัสดุไม่แพงมาก ราคาเหมาะสมค่ะ

กระเบื้องมุงหลังคาแต่ละชนิด จะมีความลาดเอียงใน การมุงไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น

กระเบื้องโมเนียจะต้องมุงให้ มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 17 องศา

กระเบื้องลอนคู่และลูกฟูก สามารถมุงหลังคาบ้านให้ มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่าประมาณ 10 - 12 องศา

Metal sheet & Aluminium sheet สามารถมุงได้น้อยกว่า 10 - 12 องศา แล้วแต่วิธีการออกแบบ

เพราะฉะนั้นเวลาเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคา ควรตรวจดู ความลาดเอียงของหลังคาให้ถูกต้องด้วย มิฉะนั้นจะทำให้หลัง คารั่วได้

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซ่อมหลังคา…คุณก็ทำได้

แก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซ่อมหลังคา


การรั่วมี 2 ประเภทหลัก คือ
1.รั่วแบบซึม
2.รั่วเเบบเเตกร้าว
ถ้ากรณีเเรกซ่อมไม่ยากครับ
แต่กรณีหลังที่รั่วเเบบแตกร้าวอาจยากหน่อย แต่ก็สามารถแก้ไขได้ถ้ารู้สาเหตุและเเก้ไขถูกวิธี ซ่อมหลังคา

ตำเเหน่งของการรั่วโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1.รั่ว-ซึมกลางดาดฟ้า หรือกลางพื้น
2.รั่ว-ซึมบริเวณขอบหรือรอบต่อของพื้นกับคาน หรือดาดฟ้ากับคาน

วิธีการแก้ไข
ใช้ปูนทรายชนิดผสมกับน้ำโบกปิด ชนิดแห้งเร็ว(rapid plug) อุดรอยรั่วซึม ดังนี้
1.ทำความสะอาดบริเวณรอบรั่ว
2.นำปูนทราย มาผสมตามที่ระบุข้่างกระป๋อง
3.ปั้นเป็นก้อน และอุดบริเวณที่รั่วซึม หรือใช้เกรียงปาดบางๆ เป็นชั้นๆ
4.กดเเช่ใว้จนเริ่มแข็ง
5.ถ้ารอยรั่วมีขนาดใหญ่ ค่อยๆอุดทีละน้อย จนทั่วรอบรั่วซึม
ปูนทราย หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป โฮมโปร ห้างต่างๆ ราคาร้อยกว่าบาท

ซ่อมหลังคากรณีที่รั่วเเบบเเตกร้าว
ขั้นเเรกต้องตรวจดูว่าส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคารเสียหายหรือไม่
กรณีโครงสร้างเสียหาย-ต้องซ่อมโครงสร้างให้เรียบร้อยก่อน
กรณีโครงสร้างเสียไม่เสียหายหาย-การซ่อมอาจใช้ปูนทรายซ่อมไม่ได้ ต้องใช้วิธีฉีดโฟมเข้าไป วิธีนี้จะเเพงกว่าการใช้ปูนทราย และต้องใช้ผู้ที่ชำนาญในการซ่อมมาทำ เพราะต้องมีเครื่องฉีดโฟม

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซ่อมหลังคาบ้าน หลังน้ำท่วม

วิธีการซ่อมกระเบื้องมุงหลังคาหลังน้ำท่วม

การซ่อมหลังคาบ้าน หลังน้ำท่วม อันดับแรกเลย เราต้องพยายามหาจุดที่ทำให้เกิดรอยรั่วหรือตรงที่มีกระเบื้องแตกราวให้ได้ ก่อน ว่าจริง ๆ แล้วเกิดจากที่ใดกันแน่ ถ้ารูรั่วหรือแตกร้าวนั้น วิธีซ่อมหลังคาบ้าน อาจทำได้ดังนี้



ขั้นตอนที่ 1

ปีนขึ้นหลังคาบ้านด้วยบันได โดยพาดไปบนหลังคาให้ มั่นคงกับพื้นที่เรียบเสมอกันควรมีผู้ช่วยคอยจั บบันไดให้มั่นคงขณะทำงาน แล้วจึงปีนขึ้นบนหลังค า

ขั้นตอนที่ 2

คลายน๊อตที่ยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ต้องการเป ลี่ยนด้วยคีมหรือประแจปากตาย โดยถอดน๊อตที่แผ่น ที่ต้องการเปลี่ยนและคลายน๊อตที่กระเบื้องแผ่นบ นและแผ่นด้านขวามือของกระเบื้องที่แตกออกให้หลว มสำหรับสอดกระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไปแทน

ขั้นตอนที่ 3

ดึงแผ่นเก่าออกระวังเศษกระเบื้องหลังคาจะหล่นลงไ ปด้านล่าง ใส่แผ่นใหม่ตามรอยเดิม โดยสอดเข้าจาก ด้านล่างให้อยู่ใต้แผ่นที่อยู่เหนือขึ้นไป

ขั้นตอนที่ 4

ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรูกระเบื้องขนาด 5 มม.สำหรับร้ อยก้านน๊อตเข้ากับคานโครงหลัง โดยให้รูตรงกับรู เดิมของแผ่นเก่า

ขั้นตอนที่ 5

ร้อยน๊อตเดิมพร้อมกับใส่แผ่นปิดกับน้ำเข้ารูที่ เจาะ แล้วขันยึดกับโครงหลังคาด้วยคีมหรือประแจป ากตายขันให้แน่น

ขั้นตอนที่ 6

ทาวัสดุกันซึมประเภทฟิลโคทหรือซิลิโคนที่หัวน๊อ ตเพื่อป้องกันน้ำฝนซึมเข้าหลังคาอีกชั้นหนึ่ง


แหล่งที่มา : www.homedd.com